ประวัติความเป็นมา
เทศบาลตำบลหนองปรือ อำเภอหนองปรือ
จังหวัดกาญจนบุรี เดิมเป็นสุขาภิบาลหนองปรือ อยู่ในความรับผิดชอบของอำเภอบ่อพลอย
จังหวัดกาญจนบุรี ได้จัดตั้งเป็นสุขาภิบาลหนองปรือ
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสุขาภิบาลหนองปรือ อำเภอบ่อพลอย
จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2525 ตามราชกิจจานุเบกษา เล่ม 100 ตอนที่ 36 ลงวันที่ 15 มีนาคม
2526
ต่อมาได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลตำบลหนองปรือ
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542
ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ.2542 ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม 116 ตอน 9 ก ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องจัดตั้งสุขาภิบาลหนองปรือ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี https://drive.google.com/file/d/1btstjZRIwn3_C3jajtl1_c1XiWxRVg-0/view?usp=sharing
ประกาศราชกิจจานุเบกษาพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542https://drive.google.com/open?id=1QDWfx0KFFW8SZI8xQ0MwAjFS9QG-MV93
Including Ambien, Ambien CR, Edluar, and Zolpimist
viagra canadianPRNewswire-FirstCall -- Lilly ICOS LLC Lilly ICOS is releasing
to buy where viagra onlineThese seizures ALWAYS occur during the night time whilst sleeping
daily cialis. COMPASS-[] was the first medical trial to supply detailed hemodynamic info on the combination of sildenafil and bosentan
cialis professional.
ประวัติและความเป็นมาการก่อสร้างหมู่บ้านหนองปรือ พร้อมทั้งประวัติและความเป็นมาของประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง ผู้จัดทำได้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้อนุชนคนรุ่นหลังไดทราบประวัติที่มาเกี่ยวกับแผ่นดินที่ตัวเองอาศัยอยู่ ตลอดจนได้ซึมซับวัฒนธรรมประจำท้องถิ่น เพื่อให้เกิดความรัก ความภาคภูมิใจในท้องถิ่นกำเนิดของตัวเอง ทั้งยังต้องช่วยกันรักษาสมบัติที่บรรพบุรุษได้สร้างเอาไว้ให้คงอยู่สืบต่อไปด้วย
สำหรับท่านผู้อ่านที่สนใจแม้จะมิได้เป็นคนหนองปรือโดยกำเนิด แต่ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านหนองปรือ คงจะให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์บางส่วนของผืนแผ่นดินเล็กๆผืนหนึ่งในแผนที่ประเทศไทยแห่งนี้ได้พอสมควร และท่านก็จะได้พบกับวิวัฒนาการของคนอีกมุมหนึ่งในประเทศไทยที่มีความเป็นมาที่น่าสนใจไม่แพ้แห่งอื่นในประเทศนี้ด้วย
ผู้จัดทำได้ใช้เวลาในการรวบรวมความรู้ด้วยการสอบถามจากคนเก่าแก่ของหมู่บ้านที่พอจะจำเรื่องราวต่างๆได้ และจากสิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัวที่ยังพอเป็นร่องรอยให้พอได้เห็น โดยผู้จัดทำมีความตั้งใจและหวังเป็นอย่างยิ่งว่า "รายงานความรู้" ฉบับนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคนไปชั่วลูกชั่วหลาน แม้ในบางตอนข้อมูลบางอย่างอาจไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ นั่นเป็นเพราะกาลเวลาที่เนิ่นนานออกไปทำให้ไม่สามารถค้นหาข้อมูลได้ ผู้จัดทำต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย
การรวบรวมประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านหนองปรือนี้ เริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ.2525 เป็นต้นมาจนมาจัดทำเป็นรูปเล่มเมื่อปี พ.ศ.2541 และเมื่อผู้จัดทำมีเรื่องราวที่สามารถค้นคว้ามาเพิ่มเติมได้ จึงต้องการจะปรับปรุงขึ้นใหม่อีกครั้ง ประวัติและความเป็นมาของหมู่บ้านหนองปรือฉบับนี้จึงเป็นฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 เมื่อปี พ.ศ.2549
ท้ายที่สุดนี้ผู้จัดทำหวังว่าประวัติความเป็นมาการก่อสร้างหมู่บ้านหนองปรือจะคงอยู่คู่กับหมู่บ้านหนองปรือของเราตลอดไป สิ่งที่น่าสนใจนี้คงจะไม่เลือนหายไปตามกาลเวลา
สภาพทั่วไปของเทศบาล
ประวัติความเป็นมา
หมู่บ้านหนองปรือ เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของตำบลหนองรี อำเภอบ่พลอย จังหวัดกาญจนบุรี ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๒ ได้แยกการปกครองออกมาจากตำบลหนองรี เป็น "ตำบลหนองปรือ" และเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๖ หมู่บ้านหนองปรือ หมู่ ๑ ตำบลหนองปรือ ได้รับการอนุมัติจากกระทรวงมหาดไทยให้ยกฐานะขึ้นเป็นสุขาภิบาลตำบลหนองปรือ โดยมีคณะกรรมการบริหารส่วนท้องถิ่น เรียกชื่อว่า "คณะกรรมการสุขาภิบาล" จากนั้นได้ยกฐานะจากสุขาภิบาลตำบลหนองปรือเป็น "เทศบาลตำบลหนองปรือ" ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๒
ลักษณะที่ตั้งอาณาเขตและเขตการปกครอง
เทศบาลตำบลหนองปรือตั้งอยู่ในเขตอำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองปรือ หมู่ที่ ๑ และหมู่ที่ ๔ (บางส่วน) มีพื้นที่ ๑๒.๕๗ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๗,๕๔๖ ไร่ อยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดกาญจนบุรี ห่างจากตัวจังหวัดกาญจนบุรี ๗๕ กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
-ทิศเหนือ | ติดต่อกับ | หมู่ที่ ๔ บ้านหนองสาหร่าย |
-ทิศใต้ | ติดต่อกับ | ลำกระพร้อย |
-ทิศตะวันออก | ติดต่อกับ | หมู่ที่ ๑ บ้านหนองปรือ |
-ทิศตะวนตก | ติดต่อกับ | หมู่ที่ ๑ บ้านหนองปรือ |
การท่องเที่ยว
ในเขตเทศบาลตำบลหนองปรือไม่มีแหล่งท่องเที่ยว แต่จะเป็นเส้นทางผ่านไปอุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์ (ถ้ำธารลอด) ห่างจากอำเภอหนองปรือประมาณ ๒๐ กิโลเมตร
การปศุสัตว์
ประชาชนส่วนใหญ่จะเลี้ยงโค
การศาสนาและวัฒนธรรม
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ ๙๕ นับถือศาสนาพุทธ มีวัด ๔ แห่ง คือวัดหนองปรือ วัดหนองจอก วัดหนองสาหร่าย และวัดเขาสิ มีศาลเจ้า ๑ แห่ง คือศาลเจ้าเขามุสิ ประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ คือประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง ได้มีการจัดขึ้นทุกวันที่ ๑๗ เมษายน ของทุกปี โดยมีการออกร้าน การแสดงศิลปะพื้นบ้านและการประกวดขบวนบุปผาชาติ
การศึกษา
-ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลหนองปรือ จำนวน ๑ แห่ง
-โรงเรียนในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต ๒ จำนวน ๓ แห่ง
๑.โรงเรียนอนุบาลหนองปรือ (ขยายโอกาส๗
๒.โรงเรียนบ้านหนองสาหร่าย (ระดับประถมศึกษา)
๓.โรงเรียนหนองปรือพิทยาคม (ระดับมัธยมศึกษา)
การกีฬา นันทนาการ และสถานที่พักผ่อน
-สนามกีฬาอเนกประสงค์ | จำนวน ๑ แห่ง |
-สนามบาสเกตบอล | จำนวน ๑ แห่ง |
-ห้องสมุดประชาชน | จำนวน ๑ แห่ง |
-สนามเด็กเล่น | จำนวน ๑ แห่ง |
-สนามฟุตบอล | จำนวน ๑ แห่ง |
-สนามตะกร้อ | จำนวน ๑ แห่ง |
-สวนสาธารณะ | จำนวน ๑ แห่ง |
สาธารณสุข
ในเขตเทศบาลตำบลหนองปรือ มีศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน ๑ แห่ง ประกอบด้วยบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้
-เจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข | จำนวน ๑ แห่ง |
-นักวิชาการสาธารณสุข | จำนวน ๑ แห่ง |
-เจ้าพนักงานสาธารสุขชุมชน | จำนวน ๑ แห่ง |
-พยาบาลวิชาชีพ | จำนวน ๑ แห่ง |
-อสม. | จำนวน ๗๐ คน |
การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
๑.รถยนต์ดับเพลิง | จำนวน ๒ คัน |
๒.เครื่องดับเพลิงชนิดหาบหาม | จำนวน ๑ เครื่ง |
๓.พนักงานดับเพลิง | จำนวน ๘ คน |
๔.อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) | จำนวน ๑๐๐ คน |
๕.การฝึกซ้อมบรรเทาสาธารณภัย | จำนวน ๑ ครั้ง |
ทรัพยากรน้ำ
ลำห้วย ๒ สาย คือ ลำตะเพิน และ ลำกระพร้อย
ทรัพยากรป่าไม้
พื้นที่เทศบาล จำนวน ๑๒.๕๗ ตารางกิโลเมตร ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทำการเกษตรไม่มีป่าสงวน
ทรัพยากรธรณีในเขตเทศบาล
ดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย
สภาพสิ่งแวดล้อม
การกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูลและการบำบัดน้ำเสีย
๑.การกำจัดขยะมูลฝอย โดยวิธีจัดเก็บเอง
-ปริมาณขยะมูลฝอย จำนวน ๗ ตัน/วัน
-รถยนต์บรรทุกขยะมูลฝอย จำนวน ๒ คัน
-ถังรองรับขยะมูลฝอย จำนวน ๕๒๐ ใบ
-พนักงานเก็บ ขน กวาดขยะมูลฝอย จำนวน ๗ คน
๒.ที่ดินสำหรับกำจัดขยะมูลฝอย
-ที่กำลังใช้ ๘ ไร่ ตั้งอยู่ที่หมู่ ๑ ข้างวัดหนองจอก ห่างจากเขตชุมชนเป็นระยะทาง ๑.๕ กิโลเมตร
-ที่ดินสำรับกำจัดขยะที่ใช้ไปแล้ว จำนวน ๖ ไร่
-เหลือที่ดินสำหรับขยะได้อีก จำนวน ๒ ไร่
-คาดว่าจะสามารถกำจัดขยะได้อีก ๒ ปี
การกำจัดสิ่งปฏิกูล
เอกชนดำเนินการจัดเก็บ
การบำบัดน้ำเสีย
ยังไม่มี เนื่องจากเทศบาลตำบลหนองปรืออยู่ใกล้แม่น้ำ การระบายน้ำหรือทิ้งของเสียมักจะลงลำห้วยซึ่งอาจจะทำให้เกิดมลภาวะเป็นพิษในภายหน้าได้
การเมือง
ประชาชนในเขตเทศบาล มีความสนใจในด้านการเมืองยังไม่มากนักโดยดูได้จากสถิติการเลือกตั้งหลายครั้งที่ผ่าน